วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไวยากรณ์มินนะโนะ บทที่ 8-9

ไวยากรณ์บทที่ 9

1. คำนาม が あります/ わかります
   คำนาม が すきです / きらいです/ じょうずです/ へたです
        ตามหลักคำแล้วคำแสดงกรรมของกริยา จะต้องใช้คำช่วย แต่คำช่วยที่ต้องใช้กับ あります わかります คือ
   และคำคุณศัพท์ すきです きらいです じょうずです へたですก็ใช้กับคำช่วย เช่นเดียวกัน
    คำช่วย ที่ใช้กับคำคุณศัพท์ คำกริยา จะกล่าวถึงการชอบ การเกลียด ความสามารถ การมีและการอยู่เป็นส่วนมาก
                (1) わたしは イタリア-りょうりが すきです。    ผม/ดิฉันชอบอาหารอิตาเลียน
                (2) わたしは にほんご が わかります。  ผม/ดิฉันเข้าใจ/รู้ภาษาญี่ปุ่น
                (3) わたしは くるま が あります。             ผม/ดิฉันมีรถยนต์
       2. どんな คำนาม
      นอกเหนือจากที่ได้เรียนวิธีใช้มาแล้วในบทที่ 8 ในบทนี้จะเรียนเกี่ยวกับการให้เลือกตอบชื่อสิ่งของ หรือเรื่องราวที่จัดอยู่ในประเภท (ชนิด) เดียวกัน
                (4) どんな スポ-ツ が すきですか。              ชอบกีฬาอะไร
                     ...サッカ-が すきです。                                ...ชอบฟุตบอล
       3. よく / だいたい / たくさん / すこし / あまり / ぜんぜん
     คำเหล่านี้เป็นกริยาวิเศษณ์ จะวางไว้ข้างหลังคำกริยาที่คำเหล่านี้ไปขยาย ดูได้จากที่รวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้

ระดับ
คำกริยาวิเศษณ์ + รูปบอกเล่า
คำกริยาวิเศษณ์ + รูปปฏิเสธ
    
        สูง

      ต่ำ 

よく              わかります
だいたい          わかります
すこし            わかります

 あまり           わかりません
ぜんぜん        わかりません
                
 
 
 

ปริมาณ
คำกริยาวิเศษณ์ + รูปบอกเล่า
คำกริยาวิเศษณ์ + รูปปฏิเสธ
      มาก
    น้อย
 たくさん          あります
すこし           あります
 あまり               ありません
ぜんぜん             ありません
                (5) えいご が よく わかります。        ผม/ดิฉันเข้าใจ/รู้ภาษาอังกฤษดี
                (6) えいご が すこし わかります。       ผม/ดิฉันเข้าใจ/รู้ภาษาอังกฤษนิดหน่อย
                (7) えいご が あまり わかりません。     ผม/ดิฉันไม่ค่อยเข้าใจ/รู้ภาษาอังกฤษ
                (8) おかね が たくさん あります。.               ผม/ดิฉันมีเงินมาก
                (9) おかね が ぜんぜん ありません。.          ผม/ดิฉันไม่มีเงินเลย
                  (หมายเหตุ)  すこしกับ ぜんぜん ใช้ขยายคำคุณศัพท์ก็ได้      
          (10) ここは すこし さむいです。              ที่นี่หนาวนิดหน่อย
          (11) あの えいがは ぜんぜん おもしろくないです。
            ภาพยนต์เรื่องนั้นไม่สนุกเลย
        4. ประโยค1 からประโยค2
     から ใช้เป็นคำเชื่อมระหว่างประโยคสองประโยคให้เป็นประโยคเดียวกัน ประโยค1 เป็นเหตุผลของประโยค2
          (12) じかん が ありませんから、しんぶん を よみません。
            เพราะว่าไม่มีเวลา จึงไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์
    หรือจะพูดประโยค 2 แล้ว ต่อด้วย ประโยค 1 からอธิบายเหตุผลก็ได้
          (13) まいあさ しんぶん を よみますか。.
            ...いいえよみません、じかん が ありませんから。             
                 ทำไมไม่อ่านหนังสือพิมพ์หรือเปล่า
                     ...เปล่าครับ/ค่ะ ไม่ได้อ่านเพราะว่าไม่มีเวลา
        5. どうして
       คำปุจฉาสรรพนาม どうして ใช้ถามถึงเหตุผล ในการตอบจะวาง ไว้ข้างท้ายประโยคคำตอบ
          (14) どうして あさ しんぶん を よみません。
            ...じかん が ありませんから。
            ทำไมไม่อ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า
                  ...เพราะว่าไม่มีเวลา
       เราสามารถใช้ประโยคคำถามสั้น ๆ どうしてですか。ถามเหตุผลในสิ่งที่คู่สนทนาได้พูดไปก็ได้
           (15) きょうは はやく かえります。     วันนี้ผม/ดิฉันจะกลับบ้านเร็วหน่อยครับ/ค่ะ
                   ...どうして ですか。.                                  ...ทำไมหรือครับ/ค่ะ
                  こどもの たんじょうび ですから。       เพราะว่าเป็นวันเกิดลูกน่ะครับ/ค่ะ 
                                                   
                                                                               ไวยากรณ์   บทที่ 8
  1. คำคุณศัพท์
     วิธีการใช้คำคุณศัพท์มี 2 อย่าง คือ 1) เป็นภาคแสดงของประโยค 2) เป็นคำขยายคำนาม โดยแบ่งเป็นคำคุณศัพท์ กับคำคุณศัพท์
        2. คำนาม คำคุณศัพท์ [] です  
    คำนาม คำคุณศัพท์ (~) です
  1) ประโยคที่คำคุณศัพท์เป็ฯภาคแสดง เมื่อลงท้ายประโยคด้วย です ถือเป็นการพูดแบบสุภาพของผู้พูดต่อผู้ฟัง คำคุณศัพท์ จะไม่มี คำคุณศัพท์ จะยังมี (~) และต่อท้ายด้วย です
                (1) ワットさんは しんせつです。          อาจารย์วัตต์ใจดี
                (2) ふじさんは たかいです。                                   ภูเขาฟูจิสูง
       です จะใช้ในประโยคบอกเล่า และ ประโยคที่ไม่ใช่เป็นอดีตกาล
    2) คำคุณศัพท์ [] じゃ ありません
      รูปปฏิเสธของ คำคุณศัพท์ [] です คือ คำคุณศัพท์ [] じゃ ありません
      (คำคุณศัพท์ [] では ありません)
                (3) あそこは しずか じゃ ありませんที่นั้นไม่เงียบ
                                                                  ( では )
    3) คำคุณศัพท์ (~) です → ~ くないです
      รูปปฏิเสธของคำคุณศัพท์ (~) です คือ ให้ตัดเสียง ในส่วนท้ายออก   แล้วทำเป็น くないです
                (4) このほんは おもしろくなしですหนังสือเล่มนี้ไม่สนุก
          รูปปฏิเสธของ いいですคือ よくないです
   4) การทำประโยคที่คำคุณศัพท์เป็นภาคแสดงให้เป็นประโยคคำถามก็ทำวิธีเดียวกับประโยคที่คำนามหรือคำกริยาเป็นภาคแสดง แต่ในการตอบจะใช้การตอบจะใช้คำคุณศัพท์ที่มีอยู่ในประโยคคำถามมาพูดตอบไม่สามรถใช้ そう ですหรือ そう じゃ ありません ได้
                (5) ペキンは さむいですか。                       ปักกิ่งหนาวไหม
                 ...はいさむいです。                                           ...หนาวครับ/ค่ะ
                (6) びわこ の みずは きれいですか。        น้ำที่ทะเลสาบบิวะสะอาดไหม
                 ...いいえきれい じゃ ありません。                                        ...ไม่ครับ/ค่ะ ไม่สะอาด
        3. คำคุณศัพท์ な  คำนาม 
        คำคุณศัพท์ (~) คำนาม
     คำคุณศัพท์จะใช้วางไว้หน้าคำนามเพื่อทำหน้าที่ขยายคำนามนั้น คำคุณศัพท์ ให้คง ไว้
          (7)ワットせんせいは しんせつな せんせいです。
                 อาจารย์วัตต์เป็นอาจารย์ใจดี
                (8) ふじさん は たかい やまです。
              ภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่สูง
         4. とても / あまり
   ทั้ง とても  กับ あまり เป็นคำกริยาวิเศษณ์แสดงระดับ  หากนำไปขยายคำคุณศัพท์ให้วางไว้หน้าคำคุณศัพท์นั้น ๆ
      とても มีความหมายว่า มาก จะใช้กลับประโยคบอกเล่า และ あまり หากใช้กับรูปปปฏิเสธจะมีความหมายว่า ไม่ค่อย
                (9) ペキンは とても さむいです。
            ...ปักกิ่งหนาวมาก
           (10) これは とても ゆうめいな えいがです。
            ...นี่เป็นภาพยนต์ที่มีชื่อเสียงมาก
            (11) シャンハイは あまり さむくないです。
            ...เซี่ยงไฮ้ไม่ค่อยหนาว
            (12) 桜大学は あまり ゆうめいな だいがく じゃ ありません。
                  ...มหาวิทยาลัยซากุระเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียง
         5. คำนาม は どうですか
      รูปประโยคคำถามแบบนี้ ใช้ถามความคิดเห็น ความรู้สึกประทับใจของผู้ฟังเกี่ยวกับเรื่องราว หรือ ประสบการณ์ของสถานที่ สิ่งของ หรือบุคคล
             (13) にほん の せいかつは どうですか。        ความเป็นอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง
                    ...たのしいです。                                                 ...สนุกดีครับ/ค่ะ
      6. คำนาม1 は どんなคำนาม2 ですか
    ใช้พูดเมื่อต้องการให้คู่สนทนาอธิบายหรือบรรยายถึงคำนาม 1 คำนาม 2 เป็นคำระบุประเภทของ คำนาม 1 และใช้ どんな วางไว้หน้าคำนามเสมอ
             (14) ならは どんな まちですか。              นาระเป็นเมืองแบบไหน
              ...ふるい まちです。                                 ...เป็นเมืองเก่า
        7. ประโยค1 ประโยค2
        が เป็นคำช่วยทำหน้าที่เชื่อมประโยคสองประโยคให้เป็นประโยคเดียว มีความหมายว่า แต่
             (15) にほん の たべものは おいしいですが、たかいです。
              อาหารการกินที่ญี่ปุ่นอร่อยแต่แพง
         8. どれ
      คำปุจฉาสรรพนามนี้ ใช้ถามในกรณีที่ต้องเลือกสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ในจำนวนสิ่งของที่มีตั้งแต่ 3 สิ่งขึ้นไป
             (16) ミラ- さん の かさは どれですか。         ร่มของคุณมิลเลอร์คันไหน
                    ...あの あおい かさです。                              ...ร่มคันสีน้ำเงินคันโน้น

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไวยากรณ์มินนะโนะ นิฮงโกะ บทที่ 4-7

 ไวยากรณ์บทที่ 4

   1. いま -ふんです
     การบอกเวลาทำได้โดยการวางลักษณะนามเกี่ยวกับเวลา คือ (โมง นาฬิกา) ふん (นาที)ไว้ข้างหลังตัวเลข จะอ่านเป็น ふん เมื่อมีตัวเลข 2,5,7,9 อยู่ข้างหน้า และจะอ่าน ぷん เมื่อตัวเลข 1,3,4,6,8,10 อยู่ข้างหน้า เมื่อตัวเลข 1,6,8,10 อยู่หน้าคำ ぷん จะอ่านดังนี้ いっろっ はっ じゅっ [じっ]

     การถามลักษณะนามที่มีตัวเลขอยู่ด้วย ให้ใส่คำว่า なん ข้างหน้าลักษณะนามนั้นและเมื่อเวลาใช้ なん-หรือ なん-ぷん

        (1) いま なん- ですか。                         ตอนนี้กี่โมง

                 ...7- 10 –ぷんです。                          ...7 โมง 10 นาที

     (หมายเหตุ) ในบทที่ 1 เรียนเรื่องเกี่ยวกับ แสดงการเป็นหัวข้อเรื่องของประโยค สำหรับ ข้อ2 ข้างล่างนี้ ใช้กับสถานที่แสดงการเป็นหัวข้อเรื่องของประโยค

        (2) ニュ-ヨ-クは  いま なんじ ですか。ที่นิวยอร์กขณะนี้กี่โมง

                  ...ごぜん4-じです。                        ...ตี 4

     2. คำกริยารูป ます

    1) คำกริยา ますทำหน้าที่เป็นภาคแสดง

    2) ます เป็นภาษาสุภาพที่ผู้พูดพูดกับผู้ฟัง

           (3) わたしは まいにち べんきょうします。 ผม/ดิฉันเรียนหนังสือทุกวัน

     3. คำกริยา ます / คำกริยา ません / คำกริยา ました/ คำกริยา ませんでした

    1) ます เป็นหางคำกริยาที่แสดงการกระทำที่เกิดขึ้นในอนาคต หรือ การกระทำที่ทำเป็นประจำ หรือ ข้อเท็จจริง กรณีเป็นรูปปฏิเสธ หรือ แสดงกาลเวลาในอดีตกาลหางคำจะเปลี่ยนไปดังนี้




( ปัจจุบัน , อนาคต )
อดีตกาล
บอกเล่า
( おき) ます
( おき )  ました
ปฏิเสธ
( おき ) ません
( おき )  ませんでした

 

 



       (4) まいあさ 6-じに おきます。          ทุกเช้าตื่นนอน 6 โมง

           (5) あした 6-じに おきます。            พรุ่งนี้จะตื่นนอน 6 โมง

           (6) けさ 6-じに おきました。          เมื่อเช้าตื่นนอน 6 โมง

    2) การทำประโยคที่คำกริยาเป็นภาคแสดงให้เป็นประโยคคำถาม ทำได้โดยเติม เข้าข้างหลังท้ายประโยคเช่นเดียวกับ          ประโยคที่คำนามเป็นภาคแสดง

      การตอบคำถามคือ พูดซ้ำคำกริยาที่มีในประโยคคำถาม จะไม่สามารถตอบด้วย そうですหรือ そう     じゃ ありません ได้

           (7) きのう べんきよう-しましたか。    เมื่อวานนี้เรียนหนังสือหรือปล่า

                ...はい べんきょう-しました。       ...เรียนครับ/ค่ะ

                ...いいえ べんきょうしませんでした。         ...เปล่า ไม่ได้เรียนครับ/ค่ะ

        (8)  まいあさ なん-じに おきますか。   ทุกเช้าตื่นนอนกี่โมง

                 ...6 –じに おきます。                    ...ตื่นนอน 6 โมง

       4. คำนาม (เวลา) คำกริยา

     การแสดงจุดเวลาของการกระทำที่เกิดขึ้นให้เติมคำช่วย ไว้ข้างหลังคำนามที่แสดงเวลา และรวมถึงประโยคที่การกระทำจบในเวลาชั่วครูด้วย

     ใช้กับประโยคคำนามเกี่ยวกับเวลาที่มีตัวเลขแสดง หากไม่มีตัวเลขแสดงจะไม่ใช้ แต่สำหรับวันจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้

            (9) 6 –じに おきます。                           ตื่นนอน 6 โมง

          (10) 7-がつ すつかに にほんへ きました。

            มาญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 เดือนกรกฎาคม

          (11) にちようび [] ならへ いきました。  จะไปนาระวันอาทิตย์

          (12) きのう べんきょうしました。                เรียนหนังสือเมื่อวาน

         5. คำนาม1 から คำนาม2  まで

    1)  から ใช้บอกจุดเริ่มต้นของเวลา และ สถานที่ まで ใช้บอกจุดจบของเวลา และ สถานที่

          (13) 9- から 5- まで はたらきまし。 ทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น

          (14) おおさか から とうきょう まで 3 –じかん かかります。

            จากโอซาก้าถึงโตเกียวใช้เวลา 3 ชั่วโมง

     2) ไม่จำเป็นต้องใช้ から และ まで ด้วยกันเสมอไป

       (15) 9- から はたらきます。                         ทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า

      3) เลือกใช้ です หลังคำ ~ から~までหรือ  ~ から ~まで แบบใดก็ได้เพื่อจบประโยค

           (16) ぎんこうは  9-じから  3-じまでです。  ธนาคารเปิดตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง 3 โมงเย็น

           (17) ひるやすみは   12-じからです。        พักกลางวันตั้งแต่เวลา 12 โมง (เที่ยง)

       6. คำนาม1 คำนาม2

       ประโยคที่มีคำนามเรียงตามกัน จะใช้ เชื่อมระหว่างคำนามนั้น ๆ

           (18) ぎんこう の  やすみは -ようび と にちようびです。

                   ธนาคารหยุดวันเสาร์กับวันอาทิตย์

      7. ประโยค

     ใช้ ต่อท้ายประโยค แสดงความรู้สึกต่อเรื่องของผู้พูดว่า มีความรู้สึกเป็นอย่างเดียวกัน หรือหวังที่จะได้รับการยืนยัน หรือยินยอมจากผู้พูด สำหรับความหมายหลังนี้ จะทำหน้าที่ยืนยันในเรื่องที่พูด

          (19) まいにち 10-じごろ まで べんきょうします。

            ...たいへんですね。

            ฉันเรียนหนังสือถึงประมาณสี่ทุ่มทุกวัน

                  ...เหนื่อยแย่เลยนะ

           (20) やまださんの でんわばんごうは  871 6813 です

             ...871 6813 ですね。

             หมายเลขโทรศัพท์ของคุณยามาดะคือ 871-6813

                    ...871-6813 ใช่ไหมครับ/คะ


 ไวยากรณ์บทที่ 5

  1. คำนาม (สถานที่) いきます / きます / かえります
    เมื่อจะใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนย้ายสถานที่ จะใช้คำช่วย e กับทิศทางที่เคลื่อนย้าย

          (1) きゅうと へ いきます。        ผม/ดิฉันจะไปโตเกียว

          (2) にほん へ きました。                          ผม/ดิฉันมาญี่ปุ่น

          (3) うちへ かえります。 ผม/ดิฉันจะกลับบ้าน

         2. どこ []もいきません / いきませんでした

    เมื่อต้องการให้คำปุจฉาสรรพนามเป็นรูปปฏิเสธ ทำได้โดยการเติมคำช่วย mo ที่ข้างหลังเพื่อแสดงการปฏิเสธทั้งหมด การใช้เหมือนกับรูปปฏิเสธทั่วไป

          (4) どこ [] いきません。                   ไม่ได้ไปไหนเลย

          (5) にほんも たべません。                       ไม่ทานอะไรเลย

          (6) だれも いません。.                              ไม่มีใครอยู่เลย

       3. คำนาม (ยานพาหนะ) で いきます/ きます / かえります

          คำช่วย แสดงความหมายถึง วิธี วิธีการ หากวางไว้ข้างหลังคำนามที่เป็นยานพาหนะ แล้วต่อด้วยคำกริยาที่มีการเคลื่อนที่ ( いきます / きます / かえります ฯลฯ ) จะแสดงวิธีการในการเคลื่อนที่ว่าเคลื่อนที่ไปโดยอะไร

       (7) でんしゃで いきます。                         ไปโดยรถไฟฟ้า

           (8) タクシ-で きました。                     มาโดยรถแท็กซี่

    กรณีที่การเคลื่อนที่ทำโดยการเดิน จะไม่ใช้คำช่วย แต่จะใช้คำว่า あるいて แทน  

           (9) えきから あるいて かえりました。           เดินกลับมาจากสถานี

       4. คำนาม (บุคคล/สัตว์) คำกริยา

         เมื่อมีการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกันกับบุคคล (สัตว์) ให้ใช้คำช่วย

           (10) かぞく と にほんへ きました。         มาญี่ปุ่นกับครอบครัว

    หากการกระทำนั้นกระทำเพียงคนเดียว จะใช้คำ ひとりでและในกรณีนี้จะไม่ใช้คำช่วย

           (11) ひとりで とうきょう へ いきます。จะไปโตเกียวคนเดียว

        5. いつ

      ในการถามเรื่องเวลา นอกเหนือจากการใช้คำแสดงคำถาม なん เช่น なん-なん-ようびなん-がつなん-にち แล้ว ยังใช้คำว่า いつ (เมื่อไร) ด้วย และไม่ต้องใส่คำช่วย ตามหลัง いつ 

            (12) いつ にほん へ きましたか。               มาญี่ปุ่นเมื่อไร

                   ...3-がつ 25-にちに きました。         ...มาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม

            (13) いつ ひろしま へ いきますか。จะไปฮิโรชิมาเมื่อไร

                   ... 来週 生きます。                      ...จะไปอาทิตย์หน้า

        6. ประโยค

   เป็นคำช่วยใช้จบประโยคแสดงอารมณ์ของผู้พูด หรือ บอกกล่าวเรื่องราวให้ฝ่ายตรงข้ามผู้ไม่รู้อะไรได้รับทราบ และยังใช้เมื่อต้องการจะเน้นความรู้สึก ความเห็นของตนเองต่อผู้ฟัง

            (14) この でんしゃは こうしえん へ いきますか。

             ...いいえいきません。 つぎ の ふつう ですよ。

             รถไฟขบวนนี้ไปโคชิเอ็นหรือเปล่า

                    ...ไม่ไป ต้องรถไฟธรรมดาเที่ยวต่อไปแน่ะ

             (15) むりな ダイエットは からだに よくないですよ。

                    การลดความอ้วนหักโหมเกินไป ไม่ดีต่อสุภาพนะ
 ไวยากรณ์บทที่ 6

      1. คำนาม (สกรรม) กริยา
    กรรมตรงของสกรรมกริยาจะแสดงโดยการใช้คำช่วย

                (1) ジュース を のみます。                       ผม/ดิฉันดื่มน้ำผลไม้

  2. คำนาม を します

   คำที่แสดงกรรมของกริยา します จะเป็นคำนามที่มีความหมายกว้าง ๆ และคำดังกล่าวจะเป็นตัวบอกเนื้อหาที่แท้จริงของกริยา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

      1) เล่น กีฬา, เกม ฯลฯ

          サッカ-を します。                               เล่นฟุตบอล

          トランプ  を します。                            เล่นไพ่

      2) จัด ชุมนุมกัน, พบกัน, จัดงาน ฯลฯ

          パーテイ を します。                                 จัดงานปาร์ตี้

          かいぎ を します。                                         ประชุม

       3) ทำ ~

       しゅくだい を します。                         ทำการบ้าน

           しごと を します。                            ทำงาน

  3. なに を しますか

    เป็นประโยคคำถามใช้ถามว่าจะทำอย่างไร

                (2) げつ-ようび なに 何 を しますか。      คุณจะทำอะไรในวันเสาร์

                 ...きょうと へ いきます。                           ...จะไปโตเกียว

            (3) きのう なに しましたか。                คุณทำอะไรเมื่อวาน

                 ... サッカ-  を しました。                   ... เล่นฟุตบอล

    ( หมายเหตุ ) สามารถใช้ wa ได้กับ วัน คำพูดแสดงกาลเวลา เพื่อแสดงการเป็นหัวข้อเรื่อง

                (4) げつ-ようびは なに を しますか。  วันจันทร์คุณจะทำอะไร

            ...きょうと へ いきます。          ...จะไปโตเกียว

  4. なん และ なに

    なん และ なに มีความหมายเหมือนกัน แปลว่า อะไร

    1) ใช้ なん ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

          -  กรณีที่พยัญชนะตัวแรกของคำที่ตามมาข้างหลัง เป็นพยัญชนะวรรค , , ,

                (5) それは なんですか。                     นั่นคืออะไร

                (6) なんの ほん ですか。                       หนังสือเกี่ยวกับอะไร

           - กรณีวางหน้าลักษณะนามแสดงความหมายกี่ ~, ~ เท่าไร      

                (8) テレサ-ちゃんは なんさい ですか。    หนูเทเรซ่าอายุเท่าไร

       2) นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ให้ใช้ なに

          (9) なに を かいますか。                           จะซื้ออะไร

  5. คำนาม (สถานที่) คำกริยา

    คำช่วย วางไว้หลังคำนาม (สถานที่) แสดงสถานที่ที่เกิดการกระทำ

                (10) えきで しんぶん を かいます。              ซื้อหนังสือพิมพ์ที่สถานี (รถไฟ)

  6. คำกริยา ませんか

   แสดงการชักชวนให้คู่สนทนากระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดร่วมกัน

                (11) いっしょに きょうと へ いきませんか。       ไปเกียวโตด้วยกันไหม

                   ...ええいい ですね。                                    ...ครับ/ค่ะ ดีจัง

  7. คำกริยา ましょう

   การแสดงข้อเสนอ หรือ การชักชวนแบบแสดงเจตจำนงของผู้พูดต่อผู้ฟัง และหรือใช้เป็นคำตอบอย่างจงใจต่อข้อเสนอ หรือคำชักชวน

                (12) ちょっと やすみましょう。           หยุดพักกันสักครู่เถอะ

                (13) いっしょに ひるごはん を たべませんか。  ทานข้าวกลางวันด้วยกันไหม

                   ... ええたべましょう。                                           ...ครับ/ค่ะ ทานด้วยกันสิ

    ( หมายเหตุ ) คำกริยา ませんかกับ คำกริยา ましょう ทั้งสองคำนี้แสดงความหมายถึงการชักชวนแต่คำกริยา ませんかจะเป็นประโยคในลักษณะถามเจตจำนงของผู้ฟังมากกว่า ましょう

      8. ~

   เป็นคำเติมหน้า แสดงให้เห็นว่าผู้พูดพูดให้เกียรติผู้ฟัง และบุคคลที่สาม

         ( ตัวอย่าง : [] くに ประเทศ )

     นอกจากนี้ o ยังใช้เติมข้างหน้าคำอื่น ๆ ได้อีกมากมาย แสดงถึงการพูดที่สุภาพ

         ( ตัวอย่าง : [] さけ  เหล้า     : [] はなみ   การชะมดอกซากุระ )

      และไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้กรณีพูดสุภาพ หรือด้วยความเคารพเท่านั้น แต่ปกติธรรมดาคำบางคำก็มี o อยู่ด้วย

         ( ตัวอย่าง : おちゃ   (น้ำ) ชา     おかね      เงิน )

ไวยากรณ์บทที่ 7
1. คำนาม (เครื่องมือ เครื่องใช้สอย/วิธีการ) คำกริยา  
     คำช่วย แสดงให้ทราบถึง วิธีการ และ วิธีในการ...

                (1) はしで たべます。                        ทานด้วยตะเกียบ

                (2) にほんごで レポ-ト を かきます。   เขียนรายงานเป็นภาษาญี่ปุ่น

    2. คำ / ประโยค ~ご で なんですか

    ประโยคคำถามนี้ ใช้ถามเมื่อต้องการอยากทราบว่า คำ ประโยค ในภาษาอื่นเรียกว่า ( หมายความว่า ) อะไร

                (3) ありがとう えいごで なんですか。 

            ...“Thank you” です。

            คำว่า“Arigato” เรียกว่าอะไรในภาษาอังกฤษ

            ... “Thank you”

          (4)“Thank you”  にほんごで なんですか。

              ... “Arigato” です。

               คำว่า “Thank you” เรียกว่าอะไรในภาษาญี่ปุ่น

                   ... “Arigato”

        3. คำนาม (บุคคล) に あげますฯลฯ

    คำกริยา あげますかしますおしえます จะใช้คำช่วย กับผู้ซึ่งเป็นผู้รับ ผู้ยืม และผู้รับการสอนที่เป็นบุคคล

                (5) やまださん を あげました。

             คุณยามาดะให้ดอกไม้แก่คุณคิมุระ

                (6) イイ-さんに ほん を かしました。

               ผม/ดิฉัน ให้คุณอียืมหนังสือ

                (7) たろうくんに えいご を おしえます。

               ผม/ดิฉัน สอนภาษาอักฤษให้ทาโร่

( หมายเหตุ ) คำ おくります และคำ でんわ を かけますทั้งสองคำนี้ผู้รับอาจไม่ได้เป็นบุคคลแต่เป็นคำนามที่เป็นสถานที่ก็ได้ กรณีนี้นอกจากคำช่วย แล้ว ยังใช้ ก็ได้   

                (8) かいしゃに でんわ を かけます。

                       []

            โทรศัพท์ไปบริษัท

         4. คำนาม (บุคคล) もらいます ฯลฯ

       คำกริยา もらいます, かりますならいます เป็นคำแสดงการกระทำของฝ่ายผู้รับ เช่น ได้รับ, ขอยืม,เรียน จะใช้คำช่วย กับฝ่ายผู้ให้

                (9) きむらさんは やまださんに はな を もらいました。

            คุณคิมุระได้รับดอกไม้จากคุณยามาดะ

          (10) かりなさんに CD を かりました。            ยืม CD จากคุณคะรินะ

          (11) ワンさんに ちゅうごくご を ならいます。

            เรียนภาษาจีนจากคุณวัน

   จากรูปประโยคข้างบนนี้ สามารถใช้ から แทน ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฝ่ายผู้ให้ไม่ได้เป็นบุคคลแต่เป็น บริษัท โรงเรียน หรือองค์กร จะไม่ใช้ แต่จะใช้ から

       (12) きむらさんは やまださんから はな を もらいました。

              คุณคิมุระได้รับดอกไม้จากคุณยามาดะ

           (13) ぎんこうから おかね を かりました。

                      ผม/ดิฉัน กู้เงินจากธนาคาร

         5. もう คำกริยา ました

   もうมีความหมายว่า ...แล้ว ใช้ควบคู่กับ คำกริยา ました ในกรณีนี้ คำกริยา ました จะมีความหมายแสดงว่า การกระทำหรือเรื่องราวในปัจจุบันได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว

        การตอบคำถามประโยค もう คำกริยา ましたか ตอบรับ ใช้     はい もう คำกริยา ました

ตอบปฏิเสธใช้ いいえまだです

         (14) もう にもつ を おくりましたか。ส่งของแล้วหรือยัง

                   ...はい[もう] おくりました。                    ครับ/ค่ะ ส่งแล้ว

                 ...いいえまだです。                                               ยังครับ/ค่ะ

       กรณีที่ตอบปฏิเสธรูปประโยคนี้ ไม่สามารถใช้รูป คำกริยา ませんでした ได้ เพราะรูป คำกริยา ませんでした หมายถึงการไม่ได้ทำสิ่งนั้นในอดีตกาล มิได้หมายถึงยังไม่ได้ทำสิ่งนั้นจนถึงขณะนี้